หลังจากพืชกัญชาปลดล็อคให้สายเขียวชาวไทย ได้ครอบครองและใช้งานอย่างถูกกฏหมาย และคงมีหลายคนสงสัยว่าพืชกัญชง และ กัญชา ต่างกันอย่างไร เพราะรูปร่างหน้าตาก็คล้ายคลึงกันจนแทบแยกไม่ออก ถ้าไม่สังเกตุดีๆ ก็จะคิดว่าเป็นพืชชนิดเดียวกันเลยก็ว่าได้ กัญชงกับกัญชาต่างกันยังไง และสรรพคุณของพืชทั้ง 2 ชนิดนี้ มีความแตกต่างกันหรือไม่อย่างไรบ้าง ในบทความต่อไปนี้ เราได้หาคำตอบมาให้ทุกท่านได้เข้าใจไปพร้อมๆกัน
พืชกัญชา (Cannabis) และกัญชง (Hemp) พืชทั้ง 2 ชนิดนี้เป็นพืชล้มลุกที่มีถื่นกำเนิดเดียวกันในวงศ์ Cannabaceae ที่อยู่ในตระกูล Cannabis เหมือนกัน ต่างกันที่สายพันธุ์ย่อยจึงทำให้พืชกัญชง และพืชกัญชา มีลักษณะที่คล้ายกัน โดยจะแตกต่างกันในด้านลักษณะทางกายภาพ และปริมาณของสารสำคัญในพืชนั้นๆ
พืชกัญชาที่เรารู้จักกันนั้น มาจากกลุ่มของสายพันธุ์ Indica เท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามความแตกต่างที่มากสุดระหว่างกัญชาและกัญชง คือ คุณสมบัติทางเคมีของพืชกัญชา ที่มีสารประกอบทางเคมีหลากหลายชนิดที่เรียกว่า Cannabinoids ซึ่งเป็นที่นิยมมากที่สุด ได้แก่สาร Tetrahydrocannabinol (THC) และสาร Cannabidiol (CBD) ในพืชกัญชามีปริมาณสาร THC อยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเป้นสารเคมีที่มีผลต่อฤทธิ์ทางจิตประสาทโดยตรง และในทางกลับกัย กัญชง จะมีระดับของสาร CBD ที่สูงกว่า และสาร THC เพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย
กัญชงกับกัญชาต่างกันยังไง ?
พืชกัญชามีลักษณะใบที่กว้าง ดอกกัญชา อวบอ้วน และโดยทั่วไปจะมีขนาดเล็กและเป็นพวง ในทางกลับกันกัญชงจะมีลำต้นที่สูง เมื่อเปรียบเทียบกันจพสามารถแยกพืชทั้งสองชนิดได้อย่างชัดเจน เนื่องจากลักษณะทางเคมีและลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างกัน กระบวนการปลูกกัญชาและกัญชงจุงแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยทั่วไปแล้วพืชกัญชา จะปลูกในสภาพอากาศที่อบอุ่น ชื้น และมีการควบคุมอน่างรอบคอบ ต้นกัญชาต้องปลูกให้ห่างกันอย่างน้อยประมาณ 6 ฟุต และต้นกัญชาจะมีวงจรการเจริญเติบโตประมาณ 60-90 วัน ซึ่งจะแตกต่างจาก พืชกัญชง คือในพืชกัยชงจะสามารเติบโตได้ในสภาพอากาศที่หลากหลาย และมีวงจรการเจริญเติบโตที่ยาวนานกว่ามากถึง 110-120 วัน
เนื่องจากในพืช กัญชา จะมีสาร THC มากและสารกัญชงแทบจะไม่มีสาร THC เลยก็ว่าได้ การใช้งานของพืชแต่ละชนิดจึงแตกต่างกันอย่างมาก กัญชาจะถูกใช้เพื่อคุณสมบัติทางจิตประสาทเป็นหลัก และใช้ได้ทั้งในเชิง สันทนาการ และทางการแพทย์ อาจใช้ได้ในรนูปแบบอื่นคือทั้งแบบ สูบ หรือ กินเข้าไป และสามารภพบได้ใยหลากหลายรูปแบบ เช่น แคปซูล เครื่องทำไอระเหย และอาหาร


กัญชง จะถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางอุตสาหกรรม เป็นหลัก และสามารภใช้ทำเสื้อผ้าหรือกระดาษ วัสดุที่อยู่อาศัยและอาหารได้ นำมาใช้ในการผลิตสิ่งทอ ( ผ้าทอ ) ในความเป็นจริงใยของพืชกัญชงมีความแข็งแรงกว่า นุ่มกว่า และอยู่ได้นานกว่าผ้าฝ้าย ดังนั้นจึงสามารถใช้ทำเสื้อผ้าได้หลากหลายรูปแบบ รวมทั้งเสื้อเชิ้ต หรือรองเท้า และกางเกง
ในพืช กัญชง จะประกอบไปด้วยแกนด้านในที่เป็นเส้นใยของพืชกัญชงซึ่งมีองค์ประกอบทางเคมีที่คล้ายกับไม้ เส้นใยและเยื้อของพืชกัญชาสามารถใช้ทำกระดาษได้ ซึ่งเหนือกว่ากระดาษที่ทำจากต้นไม้ นั่นคือกระดาษป่านมีความทนทาน ใช้เวลาในการผลิตน้อยกว่าและไม่ต้องใช้สารเคมีที่เป็นพิษ เส้นใยของพืชกัญชงสามารถเปลี่ยนเป็นวัสดุก่อสร้าง ที่ให้ความแข็งแรงและใช้สำหรับปู้พื้น หรือหลังคาได้ ในน้ำมันกัญชง ก็ยังมีคุณสมบัติทางโภชนาการที่สูงมาก มีโปรตีนกรดไขมัน และแคลเซียมสูงมาก จึงทำหน้าที่เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีศักยภาพอย่างมาก
กัญชา
พืชกัญชา มีชื่อภาษาอังที่มักถูกเรียกว่า Marijuana ลักษณะของลำต้นมีลักษณะเตี้ย และเป็นพุ่ม ต้นกัญชาจะแตกกิ่งก้านค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับต้นกัญชง ส่วนใบก็จะมีสีเขียวจัด ลักษณะใบเป็นแฉก ประมาณ 5-7 แฉก ที่สำคัญเลยที่จะช่วยแยกแยะสองสิ่งนี้ออกจากกัน คือสารที่ทำให้เมา หรือ สาร Tetrahydroconnabinol (THC) ซึ่งจะพบได้มากในพืชกัญชา และเมื่อเราเสพสารชนิดนี้ไปแล้ว มันจะทำให้ผู้เสพเคลิบเคลิ้มเป็นพิเศษ นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้กัญชาถูกนำไปใช้ในเรื่องของ สันทนาการ และอย่างไรก็ดี สาร THC ก็สามารถนำไปใช้ในทางการแพทย์ได้เช่นเดียวกันกับสาร CBD นั่นเอง
ประโยชน์ของกัญชา หลายคนย่อมนึกถึงโรคมะเร็ง เนื่องจากโรคมะเร็ง มีความซับซ้อนและแตกแขนงได้มากมายหลายชนิด หากยึดตามงานวิจัยที่มีในปัจจุบัน พืชกัญชาจึงยังไม่ถูกบรรจุเป็นยารักษาโรคมะเร็งโดยตรง แต่อย่าเพิ่งถอนหายใจและหมดหวังที่ตรงนี้ เพราะในต่างประเทศ มีการใช้สารสกัดกัญชา เข้ามาช่วยควบคุมอาการข้างเคียงซึ่งเกิดจากการใช้ยาเคมีบำบัด ในผู้ป่วยมะเร็งให้เห็น มาเป็นระยะเวลานานแล้ว
ปัจจุบันนี้วงการแพทย์ในประเทศไทย ได้มีการเลือกใช้สารสกัดจากพืชกัญชา เข้ามาเป็นยาเสริมบรรเทาอาการเจ็บป่วย ที่เกิดขึ้นหลังการผ่าตัด การฉายรังสี หรือการให้ยาเคมีบำบัด เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับผู้ป่วย ช่วยให้ลดปริมาณการใช้ยาแก้ปวด บรรเทาอาการคลื่นไส้ เพิ่มความอยากอาหาร และสามารถนอนหลับพักผ่อนได้เต็มอิ่ม ภายใต้การควบคุมปริมาณโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ




กัญชง
พืชกัญชง มีชื่อภาษาอังกฤษ เรียกว่า Hemp สำหรับลักษณะภายนอด ต้นกัญชงจะมีต้นที่สูงและเรียว ยิ่งถ้าเทียบกับต้นกัญชาแล้วนั้น ต้นกัญชงจะสูงกว่า ในส่วนของใบของต้นกัญชงจะมีขนาดใหญ่กว่าต้นกัญชา มีการเรียงสลับของใบที่ห่างกัน ลักษณะของมบกัญชงจะมีประมาณ 7-11 แฉก โดยสีของใบกัญชงจะเป็นสีเขียวอ่อน
จุดเด่นของต้นพืชกัญชงนั้นจะไม่ใช่สาร THC แต่จะเป็นสาร Cannabidiol (CBD) ซึ่งถ้าหากเสพสาร CBD แล้วจะไม่ได้ทำให้เคลิบเคลิ้มเหมือนกับพืชกัญชา หลักๆแล้วจะถูกสกัดออกมาเพื่อใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ เช่น การลดอาการเจ็บปวด หรือช่วยต้านนอาการของโรคลมชัก ในขณะเดียวกัน สารนี้ก็มักถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอบางชนิด
จริงๆแล้วนั่นพืชกัญชง และกัญชา เป็นเหมือนพืชที่มีแม่คนเดียวกัน เพราะต้นกำเนิดของพวกมันมาจาก Cannabis Sativa L. เหมือนกันนั่นเอง เพียงแค่ต่างกันแค่สายพันธุ์ที่พ่วงท้าย แต่เหตุผลที่สำคัญที่ต้องแยกสองสิ่งนี้ออกจากกัน อยู่ตรงที่รูปแบบของการนำไปใช้ประโยชน์ รวมถึงระดับของสารที่ทำให้เกิดความมึนเมาได้นั่นเอง
ประโยชน์ของพืชกัญชงในด้านต่างๆ
- เปลือกจากลำต้น ให้เส้นใยเพื่อนำไปใช้ทำเส้นด้ายหรือเชือก ใช้สำหรับการทอผ้า ทำเครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ นอกจากนี้ยังใช้ในพิธีกรรมต่างๆ และยังใช้เป็นรองเท้าของคนตายเพื่อเดินทางไปสู่สวรรค์ และใช้ทำเป็นเส้นด้าย และสายสิญจน์ในพิธีกรรมต่างๆ
- เนื้อของลำต้นที่ลอกเปลือกออกแล้วสามารถนำมาผลิตเป็นกระดาษได้
- แกนของต้น จะมีคุณสมบัติในการดูดซับกลิ่น น้ำ หรือ น้ำมัน ได้อย่างดี ในต่างประเทศนิยมนำไปผลิตเป็นพลังงานชีวมวลในรูปแบบต่างๆ เช่น ถ่านไม้, Alcohol, Ethanol, Methanol นอกจากนี้แกนของต้นกัญชงยังถูกนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ เพื่อการตกแต่งอาคารและเฟอร์นิเจอร์
- ในส่วนของเมล็ด สามารถใช้เป็นอาหารนกได้ และเมล็ดกัญชง ที่เก็บได้สามารถนำมาสกัดเอาน้ำมันมาใช้ในการปรุงอาหารได้ ซึ่งจากการศึกษาได้พบว่า ในน้ำมันของเมล็ดพืชกัญชงมีโอเมก้า 3 ที่สูงมาก นอกจากนี้ยังมีโอเมก้า 6 โอเมก้า 9 , linoleic acid, alpha- และ gamma-linolenic acid และสารในกลุ่มวิตามิน เช่น วิตามินอี ซึ่งเมื่อบริโภคเข้าไปแล้วจะมีประโยชน์ต่อการป้องกันโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด และช่วยลดการเกิดโรคมะเร็งในร่างกายได้อย่างน่าทึ่ง
- น้ำมันจากเมล็ดกัญชง สามารถนำไปผลิตเป็นน้ำมันซักแห้ง ทำสบู่ เครื่องสำอาง ครีมกันแดด แชมพู สบู่ โลชั่นบำรุงผิว ลิปสติก ลิปบาล์ม หรือแม้กระทั่งเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง และถูกพัฒนาเป็นตำรับครีมน้ำมันกัญชงที่ให้ความชุ่มชื้นและช่วยบำรุงผิวแห้งเพื่อรักษาโรคผิวแห้งคันและสะเก็ดเงินที่ได้ผลดี
กัญชงกับกัญชาต่างกันยังไง มีสารสำคัญอะไรบ้าง ??
สาร THC ( Tetrahydrocannabinol ) : หรือที่เรียกง่ายๆ ว่าสารเมา สามารถพบได้สูงในพืชกัญชา เป็นสารออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทโดยตรง หากรับเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ในปริมาณมากแล้ว จะส่งผลต่ออารมณ์ ความจำ ความรู้สึก เคลิบเคลิ้ม หน้ามืด ใจสั่น ไปจนถึงเห็นภาพหลอนได้ ในทางกฏหมายในบางประเทศ จึงอนุญาตให้มีความเข้มข้นของสาร THC ที่ไม่เกิน 0.2% ซึ่งจัดว่าเป็นปริมาณที่เหมาะสมกับการใช้เพื่อการลดอาการปวด และการเกร็งของกล้ามเนื้อ
สาร CBD (Cannabidiol) : ไม่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ไม่ทำให้เกิดอาการมึนเมา พบได้สูงในกัญชง ช่วยลดอาการชัก ลดการอักเสบของแผล ความปวดทรมานหลังการให้คีโมและลดความกังวลได้ ที่สำคัญยังช่วยต้านทานอาการเมาเคลิ้มเมื่อได้รับสาร THC ด้วย
ในปัจจุบันนี้ องค์การอนามัยโลก ( WHO ) ยังคงบรรจุสาร THC ( Tetrahydrocannabinol ) เป็นสารเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 เนื่องจากมีโอกาส ที่จะถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด แต่ขณะเดียวกัน ก็ยังคงมีประโยชน์ทางการแพทย์ ส่วนสาร CBD ( Cannabidiol ) ไม่อยู่ในกลุ่มสารเสพติดอีกต่อไป แม้ในประเทศไทยจะไฟเขียวปลดล็อกกัญชาออกจากบัญชียาเสพติด เพื่อให้สามารถนำมาคิดค้นวิจัยเพื่อการรักษาได้อย่างเป็นวงกว้างแล้วก็จริง แต่อีกหลายประเทศยังถือเป็นของต้องห้าม และไม่อนุญาตให้นำข้ามผ่านพรมแดนประเทศ โดยไม่ได้รับอนุญาติ