Cannabinoids หรื คานนาบิโดล เป็นกลุ่มสารที่สกัดได้จากพืชในตระกูล Cannabis เท่านั้นนั่นเอง ( Cannabidoids, Terpenes และ Flavonoids ) โดยมีมากกว่า 200 ชนิด ที่ถูกค้นพบไปแล้ว และคาดกันว่าจะมีถึง 400 กว่าชนิดด้วยกัน ที่มนุษย์เรายังศึกษาไม่ได้ นักวิทยาศาสตร์ และนักพฤษศาสตร์ และวงการแพทย์ ต่างพยายามศึกษาค้นคว้าวิจัยสารในกลุ่มนร่ ในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมานี้ แต่ก็ยังไม่สามารถเข้าใจได้อย่างลึกซึ้ง เนื่องจากความหลากหลายของชนิดสารที่ทยอยพบมากขึ้นเรื่อยๆ การออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา การทำงานเสริมฤทธิ์ซึ่งกันและกัน ทั้งในกลุ่มเดียวกันและต่างกลุ่ม ตัวอย่างเช่น Terpenes เป็นต้น ทำให้ยิ่งประหลาดใจกับกลไกการทำงานอันซับซ้อน โดยเฉพาะเวลาไปจับกับตัวรับ CB1R ( CB1 Receptor ) และ CB2R ( CB2 Receptor )


Cannabinoids ( คานนาบิโดล ) คืออะไร ??
Cannabinoids เป็นสารเคมีที่จะไปจับกับ Cannabinoid Receptor ที่มีทั้ง CB1R และ CB2R ในร่างกาย และไปกระตุ้นระบบต่างๆ ทั่วร่างกาย ที่เรียกกันว่า Endocannabinoid System (ECS) ทำให้เกิดสภาวะสมดุลย์ของร่างกายทั้งหมด ทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น รวมทั้งไปควบคุมการทำงานของกระบวนการต่างๆ ของร่างกาย ทั้งอารมณ์ ความจำ ความอยากอาหาร ความเจ็บปวด และระบบภูมิต้านทานของร่างกาย โดยแบ่งสารในกลุ่มนี้ออกเป็น 3 กลุ่มหลัก คือ
- Phytocannabinoids ที่พบได้ในพืชตระกูล Cannabis เท่านั้น ปัจจุบันค้นพบแล้วกว่า 200 ชนิดด้วยกัน ซึ่งสารในกลุ่มนี้ที่รู้จักกันดีก็คือ THC , CBD และ Cannabinol ( CBN ) สารแต่ละตัวในกลุ่มนี้จะส่งผลต่อร่ายกายมนุษย์แตกต่างกัน และที่มีการพูดถึงกันมากในทางวิชาการก็คือ การทำงานร่วมกันของสารที่อยู่ในพืชพวกนี้ ที่สำคัญคือ ปฏิกิริยาระหว่าง Phytocannabinoid-terpenoid ที่จะออกฤทธิ์เสริมกันในการลดอาการปวด อักเสบ อาการหดหู่ เครียดกังวล อาการชัก ต้านมะเร็งและต้านการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- Endocannabinoids ที่ร่างกายมนุษย์สร้างได้เอง แต่มีปริมาณน้อยมาก ร่างกายมนุษย์จะสร้างสารชนิดนี้ขึ้นมาได้เอง เราเรียกกันว่า endocannabinoids ซึ่งสารนี้จะควบคุมกลไกสำคัญต่างๆ ภายในร่างกาย เช่น อาการปวด อารมณ์ การนอน และภูมิต้านทาน จากการศึกษาวิจัยของ Franjo Grotenhermen พบว่า endocannabinoids จะถูกสร้างและปล่อยออกมาในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น และถ้าการสร้างออกมาไม่เพียงพอ ก็จะมีผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายได้ ณ จุดนี้เองที่ Phytocannabonoids จะช่วยเข้ามาเติมช่องว่างตัวนี้ได้ โดยเข้าไปทำงานทดแทนได้ ในปัจจุบันนี้นักวิทยาศาสตร์ค้นพบ endocannabinoids เพียง 5 ตัวเท่านั้นคือ
1. Anandamide (N-arachidonyl ethanolamide, AEA)
2. 2-arachidonyl the glycerol (2-AG)
3. ether 2- arachidonyl glycerol (noladin ether)
4. the O-arachidonylethanolamine (virodhamina)
5. N-arachidonoyl-dopamine (NADA) - Synthetic Cannabinoids ที่สังเคราะห์ขึ้นมาในห้องแลบ จากการศึกษาและวิจัยโครงสร้างทางเคมีของ Cannabinoids ชนิดต่างๆ ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถสังเคราะห์สาร Cannabinoids ขึ้นได้ในห้องแลบ ตัวอย่าง เช่น Nabilone และ Nabotate ซึ่งช่วยในด้านการรักษาได้ดีในปัจจุบัน Cannabinoid ที่สังเคราะห์ขึ้นมามีหลายตัวดังนี้
1. CP-55940 สังเคราะห์ขึ้นมาในปี 1974 ออกฤทธิ์ได้แรงกว่า THC หลายเท่า
2. Dimethylheptylpyran
3. 11-hydroxy is’ 8 -THC-DMH หรือ HU-210 เป็น Cannabinoid ที่สังเคราะห์ขึ้นมาและมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งแรงกว่า THC ถึง 100 เท่า
4. SR144528 เป็น CB2 receptor antagonists
5. WIN 55,212-2
6. JWH-133 เป็น selective CB2 receptor agonist.
7. Levonantradol (Nantrodolum) ช่วยเรื่องแก้ปวดและแก้อาเจียน แต่ปัจจุบันไม่ได้ใช้ในทางการแพทย์
คานนาบิโดล ( Cannabinoids ) มีผลยังไงกับร่างกายมนุษย์ ?
โดยปกติแล้ว ในร่างกายมนุษย์ จะสามารถสร้าง Endocannabinoid ซึ่งเป็น Cannabinoids โดยธรรมชาติ ( ที่มีการศึกษาส่วนใหญ่ คือ anandamide และ arachidonoyl-glycerol (2-AG) ) Endocannabinoid ถูกสร้างขึ้น เพื่อกำกับการทำงานต่างๆ ของร่างกายโดยจะไปจับกับ CB1 และ CB2 receptor นอกจากนี้การศึกษาต่างๆ พบว่า endocannabinoids ส่งผลเกี่ยวข้องกับการทำงานของร่างกาย อาทิ ความจำ อารมณ์ ความอยากอาหาร การนอนหลับ ความปวด ความเครียด การติดยา และการอักเสบ รวมถึงอาจมีบทบาทในการป้องกันที่เกี่ยวข้องกับการทางานของสมอง ระบบ metabolism ของร่างกาย อาทิ lipolysis, glucose metabolism และ energy balance


CB1 , CB2 คืออะไร ?? มีหน้าที่อย่างไร ??
CB1 นั้นจะพบอยู่ในสมองและไขสันหลัง ปอด เส้นเลือด กล้ามเนื้อ ทางเดินอาหาร ไขมัน และอวัยวะเพศ การจับของ endocannabinoid ที่ CB1 receptor ในระบบประสาทส่วนกลางจะมีบทบาทต่อการควบคุมการกินอาหาร ความอิ่ม ความเจ็บปวด ความจำ การติดยา และการเคลื่อนไหว นอกจากนี้ การจับของ endocannabinoid ที่ CB1 receptor ที่อวัยวะรอบนอก เช่น ตับ กล้ามเนื้อ ทางเดินอาหาร เนื้อเยื่อไขมัน และ Islets of Langerhans ของตับอ่อน มีบทบาทต่อการควบคุมกระบวนการเมแทบอลิซึมของไขมันและกลูโคส เพื่อรักษาสมดุลของพลังงานในร่างกาย
CB2 พบในอยู่ในเซลล์เกลีย ( Glial cell ) ของสมองซึ่งทํางานร่วมกับเซลล์ประสาท ส่วนอวัยวะที่มีทั้ง CB1 และ CB2 ประกอบด้วย ก้านสมอง ระบบภูมิคุ้มกัน ตับ ไขกระดูก และตับอ่อน การจับของ endocannabinoid ที่ CB2 receptor ในระบบภูมิคุ้มกัน ไม่มีบทบาทควบคุมการกินอาหาร แต่มีผลควบคุมการหลั่ง cytokine ในระบบภูมิคุ้มกัน ระบบ Endocannabinoid ทำการควบคุมระบบต่างๆเหล่านี้ เมื่อร่างกายเกิดอาการผิดปกติ ระบบ endocannabinoid ก็จะพยายามปรับร่างกายสู่การทำงานปกติ หรือร่างกายเสื่อมลงการทำงานเดิมไม่สมบูรณ์ ตัวยา กัญชา ที่มี cannabinoid ก็จะเข้ามาช่วยทำงานเสริมได้อย่างสมบูรณ์ เนื่องจากเข้าในระบบของเราได้ทันที

