Cannabinoids เป็นกลุ่มสารที่สกัดได้จากพืชในตระกูล Cannabis เท่านั้น (Cannabidoids, Terpenes และ Flavonoids) ซึ่งมีกว่า 200 ชนิดที่ถูกพบไปแล้ว และคาดกันว่าจะมีถึง 400 กว่าชนิดด้วยกัน นักวิทยาศาสตร์ นักพฤษศาสตร์ และวงการแพทย์ ต่างพยายามศึกษาค้นคว้าวิจัยสารในกลุ่มนี้ในช่วงไม่กี่สิบปีมานี้ แต่ก็ยังไม่สามารถเข้าใจได้อย่างลึกซึ้ง เนื่องจากความหลากหลายของชนิดสารที่ทยอยพบมากขึ้นเรื่อยๆ การออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา การทำงานเสริมฤทธิ์ซึ่งกันและกัน ทั้งในกลุ่มเดียวกันและต่างกลุ่ม อย่างเช่น terpenes เป็นต้น ทำให้ยิ่งประหลาดใจกับกลไกการทำงานอันซับซ้อน โดยเฉพาะเวลาไปจับกับตัวรับ CB1R (CB1 Receptor) และ CB2R (CB2 Receptor)


Cannabinoids เป็นสารเคมีที่จะไปจับกับ Cannabinoid Receptor ที่มีทั้ง CB1R และ CB2R ในร่างกาย และไปกระตุ้นระบบต่างๆ ทั่วร่างกาย ที่เรียกกันว่า Endocannabinoid System (ECS) ทำให้เกิดสภาวะสมดุลย์ของร่างกายทั้งหมด ทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น รวมทั้งไปควบคุมการทำงานของกระบวนการต่างๆ ของร่างกาย ทั้งอารมณ์ ความจำ ความอยากอาหาร ความเจ็บปวด และระบบภูมิต้านทานของร่างกาย
แบ่งสารในกลุ่มนี้ออกเป็น 3 กลุ่มหลัก คือ
- Phytocannabinoids : ที่พบได้ในพืชตระกูล Cannabis พบได้ในพืชพวก Cannabis เท่านั้น ปัจจุบันค้นพบแล้วกว่า 200 ชนิดด้วยกัน ซึ่งสารในกลุ่มนี้ที่รู้จักกันดีก็คือ THC, CBD และ Cannabinol (CBN). สารแต่ละตัวในกลุ่มนี้จะส่งผลต่อร่ายกายมนุษย์แตกต่างกัน และที่มีการพูดถึงกันมากในทางวิชาการก็คือ การทำงานร่วมกันของสารที่อยู่ในพืชพวกนี้ ที่สำคัญคือ ปฏิกิริยาระหว่าง Phytocannabinoid-terpenoid ที่จะออกฤทธิ์เสริมกันในการลดอาการปวด อักเสบ อาการหดหู่ เครียดกังวล อาการชัก ต้านมะเร็งและต้านการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- Endocannabinoids : ที่ร่างกายมนุษย์สร้างได้เอง แต่มีปริมาณน้อยมาก ร่างกายมนุษย์จะสร้างสารชนิดนี้ขึ้นมาได้เอง เราเรียกกันว่า endocannabinoids ซึ่งสารนี้จะควบคุมกลไกสำคัญต่างๆ ภายในร่างกาย เช่น อาการปวด อารมณ์ การนอน และภูมิต้านทาน จากการศึกษาวิจัยของ Franjo Grotenhermen พบว่า endocannabinoids จะถูกสร้างและปล่อยออกมาในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น และถ้าการสร้างออกมาไม่เพียงพอ ก็จะมีผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายได้ ณ จุดนี้เองที่ phytocannabonoids จะช่วยเข้ามาเติมช่องว่างตัวนี้ได้ โดยเข้าไปทำงานทดแทนได้
ในปัจจุบันนี้นักวิทยาศาสตร์ค้นพบ endocannabinoids เพียง 5 ตัวเท่านั้นคือ
– Anandamide (N-arachidonyl ethanolamide, AEA),
– 2-arachidonyl the glycerol (2-AG),
– ether 2- arachidonyl glycerol (noladin ether),
– the O-arachidonylethanolamine (virodhamina), และ
– N-arachidonoyl-dopamine (NADA). - Synthetic Cannabinoids : ที่สังเคราะห์ขึ้นมาในห้องแลบ จากการศึกษาและวิจัยโครงสร้างทางเคมีของ Cannabinoids ชนิดต่างๆ ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถสังเคราะห์สาร Cannabinoids ขึ้นได้ในห้องแลบ ตัวอย่าง เช่น Nabilone และ Nabotate ซึ่งช่วยในด้านการรักษาได้ดี
ปัจจุบัน Cannabinoid ที่สังเคราะห์ขึ้นมามีหลายตัวดังนี้
– CP-55940 สังเคราะห์ขึ้นมาในปี 1974 ออกฤทธิ์ได้แรงกว่า THC หลายเท่า
– Dimethylheptylpyran
– 11-hydroxy is’ 8 -THC-DMH หรือ HU-210 เป็น Cannabinoid ที่สังเคราะห์ขึ้นมาและมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งแรงกว่า THC ถึง 100 เท่า
– SR144528 เป็น CB2 receptor antagonists
– WIN 55,212-2
– JWH-133 เป็น selective CB2 receptor agonist.
– Levonantradol (Nantrodolum) ช่วยเรื่องแก้ปวดและแก้อาเจียน แต่ปัจจุบันไม่ได้ใช้ในทางการแพทย์
สารในกลุ่ม Cannabinoids (Cannabinoids compound)
สารในกลุ่มนี้แม้จะมีอยู่กว่า 200 ชนิด แต่ที่มีการศึกษาวิจัยกันอย่างจริงจัง ก็มีอยู่เพียงไม่กี่ตัวเท่านั้น และในบทความต่อไปนี้ เราจะยกตัวอย่างของสาร ที่ได้รับการศึกษาและวิจัยกันอย่างจริงจัง
- Tetrahydrocannabinolic Acid (THCA) : เป็นสารหลักที่พบได้ในพืช Cannabis (ทั้งกัญชงและกัญชา) ปกติจะไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ซึ่งเมื่อทิ้งไว้ให้พืชแห้ง สาร THCA จะถูกเปลี่ยนไปเป็น THC ซึ่งจะทำให้มีอาการเคลิ้มและมีผลเสียต่อร่างกาย ดังนั้นเวลาที่กินหรือดื่มพืช Cannabis แบบสด จะไม่มีผลเสียต่อร่างกาย
- Tetrahydrocannabinol (THC) : CBC พบได้ในพืช Cannabis หลายสายพันธุ์ ที่เติบโตในเขตร้อนชื้น มีสรรพคุณ ช่วยลดอาการอักเสบ ลดอาการปวด ช่วยการเจริญเติบโตของกระดูก และยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลมะเร็ง
- Cannabidiol (CBD) : เป็นสารในกลุ่ม cannabinoids ที่พบได้มากที่สุดในกัญชง สารนี้จะไม่มีผลต่อจิตประสาท แต่มีคุณสมบัติด้านการรักษาโรคได้ดีมาก ซึ่งจะกล่าวต่อไป
- Cannabinol (CBN) : CBN ได้จากการสลายตัวของ THC และมีผลต่อจิตประสาทน้อย ช่วยเรื่องการนอนหลับและช่วยลดอาการปวดและเกร็งของกล้ามเนื้อ โดยทั่วไปจะพบได้น้อยมากหรือไม่พบเลยในกัญชง-กัญชาที่สด แต่หลังจากที่เก็บเกี่ยวแล้วทิ้งไว้สักพัก THC จะค่อยๆ เปลี่ยนไปเป็น CBN
- Cannabidiolic Acid (CBDA) : เป็นสารที่ไม่มีผลต่อจิตประสาท เวลาที่ถูกความร้อน แสง หรือทิ้งไว้ สารนี้จะเปลี่ยนไปเป็น CBD จะช่วยในเรื่องการรักษามะเร็ง ลดการอักเสบและลดอาการคลื่นไส้
- Cannabigerol (CBG) : CBG ไม่มีผลต่อระบบประสาท จะช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ลดอาการหดหู่ ช่วยลดความดันโลหิต และมีสรรพคุณต้านเชื้อโรค นอกจากนี้ยังพบว่า CBG จะไปยับยั้งการเติบโตของเซลมะเร็งและเนื้องอกได้ดี และยังช่วยเรื่องการเติบโตของกระดูก
- Tetrahydrocannabivarin (THCV) : มีผลต่อจิตประสาท แต่น้อยกว่า THC พบว่ามีผลยับยั้งอาการชักได้ ช่วยกระตุ้นการเติบโตของกระดูก ลดความอยากอาหาร และช่วยเรื่องลดน้ำหนัก
CBD , THC คืออะไร ?
สารทั้ง 2 ชนิดนี้มีชื่อเต็มว่า Tetrahydrocannabinol (THC) และ Cannabidiol (CBD) ซึ่งเป็นสารที่พบได้มากที่สุดในพืชตะกูลของ Cananbis โดยสาร THC จะถูกพบมากในพืชกัญชา และสาร CBD นั้น จะพบมากในพืชกัญชง และถึงแม้ว่าสาร 2 ชนิดนี้ จะมาจากพืชตระกูลเดียวกัน แต่คุณสมบัติ และประโยชน์ ที่ได้นั้น ก็แตกต่างกันอย่างมีนัยยะ เลยทีเดียว ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า เจ้า 2 สารนี้ อยู่ในกลุ่มของ แคนนาบินอยด์ ซึ่งในร่างกายของเราก็มีสารนี้ในตัวทุกคน
ยกตัวอย่าง : แคนนาบินอยด์ นั้นจะทำงานก็ต่อเมื่อประสานเข้ากับ ตัวรับแคนนาบินอยด์ ในสมองเรา เช่น ถ้า แคนนาบินอยด์ในสมอง สมดุล ก็จะช่วยให้ร่างกายควายความกังวล ลดอารมณ์เศร้า
เพราะเหตุนี้ เวลาที่คนเราได้รับ THC จะทำให้เกินอาการ High แต่ความต่างคือ คนเรายังสลายสาร THC ได้ยากกว่า ทำให้ อาการเมา นั้นอยู่ได้นาน ส่วน CBD นั้นไม่ส่งผลในการทำให้เกินอาการ มึนเมา ซึ่งอ่านดูแล้ว สารทั้ง 2 ตัว จะให้ผลในด้านของ ความรู้สึก เลยเป็นเหตุทำให้วงการแพทย์สนใจ ที่จะใช้ประโยชน์ของสารทั้ง 2 ตัวนี้มากขึ้น
THC ขึ้นชื่อเรื่องการนำมาใช้เพื่อผ่อนคลาย ส่งเสริมสุขภาวะการนอนหลับ แต่สารชนิดนี้ก็ยังมีประโยชน์ทางการแพทย์และต่อสุขภาพของผู้ใช้ เช่นบรรเทาอาการข้างเคียงของการทำคีโมฯ รักษามะเร็ง
- บรรเทาอาการภูมิแพ้
- เส้นเลือดตีบ
- บรรเทาอาการเอชไอวี/เอดส์
- บรรเทาอาการเจ็บปวดเรื้อรัง
- บรรเทาอาการติดเชื้อหรืออักเสบ
- ช่วยเสริมสร้างระบบย่อยอาหาร
CBD แม้ว่าสาร จะไม่ออกฤทธิ์ทางระบบประสาทที่ทำให้เกิดอาการเมา แต่ในวงการแพทย์มองว่าเป็นสารชนิดนี้เป็นที่น่าสนใจมากที่สุด โดยพบว่ามีสรรพคุณที่ดีต่อสุขภาพอยู่หลายประการ อาทิ
- บรรเทาอาการเจ็บปวดเรื้อรังจากมะเร็ง
- บรรเทาอาการลมบ้าหมู
- บรรเทาอาการของโรค ALS หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง
- บรรเทาอาการพาร์กินสัน (อาการสั่น)
- ลดปัญหาสิวและอาการผิวแห้ง
- บรรเทาอาการซึมเศร้า
- บรรเทาอาการโรคเบาหวาน
- บรรเทาอาการทางจิตเภทต่าง ๆ
- บรรเทาอาการลงแดงจากสารเสพติดอื่น ๆ
- บรรเทาและป้องกันโรคหัวใจ