พืช กัญชา ที่เรารู้จักกัน เป็นพืชที่ให้ดอกในวงศ์ Cannabaceae มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ คือ CannabisSativa L.subsp.Indica และมีชื่อโดยทั่วไปว่า Marijuana, Cannabis , Pot ลำต้นของกัญชามักจะมีลักษณะเตี้ย และเป็นพุ่ม ใบมีสีเขียวจัด ลักษณะของใบจะมีประมาณ 5-7 แฉก พบว่ามีสารในกัญชามากกว่า 500 ชนิด โดยจะมีสารในกลุ่ม Cannabinol ( มีโครงสร้างโมเลกุลเป็นแบบ 21-carbon terpenophenolic skeleton ) อยู่มากที่สุด และมีสารในกลุ่มนี้ไม่น้อยไปกว่า 100 ชนิด สารออกฤทธิ์ที่สำคัญ ได้แก่ THC ( Δ-9-tetrahydrocannabinol ) ซึ่งมีฤทธิ์ในการกระตุ้นประสาท ทำให้เมาเคลิ้ม ประสาทหลอน สำหรับสารชนิดอื่นๆในกลุ่มเดียวกัน เช่น CBD ( Cannabidiol ) , CBN ( Cannabinol ) , CBG ( Cannabigerol ) รวมทั้งยังมีสารในกลุ่ม Terpene และ Flavonoid ความเข้มข้มของ Cannabinoids นั้นจะมีความแตกต่างกันตามส่วนของพืช โดยจะพบกับความเข้มข้นสูงสุดของสารออกฤทธิ์ THC ในดอกเพศเมียที่ยังไม่ได้ผสมพันธุ์นั่นเอง


ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ของ กัญชา ( Cannabis )
- ราก : เป็นระบบรากแก้ว ( Tap root system ) มีรากแขนงจำนวนมาก
- ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ แผ่นใบแยกเป็น 5-7 แฉก ขอบใบเป็นฟันเลื่อย และเว้าลึกจนถึงโคนใบ ปลายใบเรียวแหลม ผิวด้านบนใบมีสีเข้มกว่าด้านล่าง ก้านใบยาว 2-7 เซนติเมตร เมื่อมีการสร้างดอก จำนวนของแฉกของใบจะลดลงตามลำดับ เหลือเพียง 1-3 แฉก เท่านั้น
- ลำต้น : ลักษณะลำต้นตั้งตรง สีเขียว สูงประมาณ 1-6 เมตร มีลักษณะอวบน้ำ เมื่อเป็นต้นกล้า เริ่มมีการส้รางเนื้อไม้เมื่อเจริญเติบโตได้ 2-3 สัปดาห์ การเจริญเติบโจของต้นจะช้าในช่วง 6 สัปดาห์แรก หลังจากนั้นจะเพิ่มความสูงอย่างรวดเร็ว จนมีความสูงเฉลี่ยคงที่คือ ประมาณ 300 เซ็นติเมตร เนื่องจากมีการออกดอก เปลือกของลำต้นสามารถลอดออกเพื่อใช้ประโยชน์จากเส้นใย โดยเปลือกนอก ให้เส้นใยที่ยาว เหนียว แต่ค่อนข้างหยาบ ส่วนเปลือกในที่ติดกับเนื้อไม้ ให้เส้นใยที่ละเอียดกว่า แต่สั้นกว่า
- ดอก : มี 2 ชนิด คือ ชนิดที่มีดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่ในต้นเดียวกัน (monoecious) และชนิดดอกเพศผู้ และเพศเมียแยกกันอยู่คนละต้น (dioecious) ในประเทศไทยพบว่าพืชกัญชามีดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด โดยปกติพืชกัญชาจะมีการติดดอกและเมล็ดในช่วง 90-120 วัน
– ดอกเพศผู้ : ช่อดอกเพศผู้เป็นแบบ panicle ประกอบไปด้วยกลีบเลี้ยง 5 กลีบ แยกกันเป็นอิสระมีสีเขียว อมเหลือง พบเกสรเพศผู้ 5 อัน ระยะเวลาการบานประมาณ 2 เดือน
– ดอกเพศเมีย : เกิดตามซอกใบและปลายยอด ในบริเวณช่อดอกจะอัดตัวกันแน่น ช่อดอกเป็นแบบ spike ประกอบด้วยกลีบเลี้ยงสีเขียวเข้มห่อหุ้มรังไข่ไว้ ภายในมี stigma 2 อัน สีน้ าตาลแดง อายุของดอกค่อนข้างสั้น ประมาณ 3-4 สัปดาห์ก็จะติดผล - เมล็ด : พบว่าพัฒนาได้อย่างรวดเร็วภายใน 2-3 สัปดาห์หลังออกดอก เป็นเมล็ดเดี่ยว รูปไข่ป้อมผิวเรียบ เป็นมันมีลายประดับสีน้ำาตาล เมื่อแห้งมีสีเทา ขนาดประมาณ 3-4 มม. มีน้ าหนักเฉลี่ย 8-24 กรัมต่อเมล็ด 1000 เมล็ด ภายในเมล็ดมีอาหารสะสมพวกแป้งและไขมันอัดแน่น โดยมีน้ ามันถึง 29-34% มีไขมันชนิดไม่อิ่มตัว ( unsaturated fatty acids ) สูง ประกอบด้วย linoleic acid ( C18:2 ) ร้อยละ 54-60 linolenic acid ( C18:3 ) ร้อยละ 15-20 และ oleic acid ( C18:1 ) ร้อยละ 11-13


การออกฤทธิ์ของสาร THC ที่มีต่อร่างกาย
THC ( tetrahydrocannabinol ) เป็น Psychoactive Compound ซึ่งส่วนใหญ่จะจับกับ Cannabinoid ( คานนาบิโดล ) Receptors ซึ่งพบอยู่ 2 กลุ่มหลัก คือ Cannabinoid Receptors type1 ( CB1 ) และ Cannabinoid receptors type2 ( CB2 ) โดย CB1 จะพบมากที่ระบบประสาทส่วนกลาง ( Central nerve system ) และสมอง โดยเฉพาะในส่วนของ Basal Ganglia, Hippocampus, Cerebellum, Hypothalamus และ frontal cortex ซึ่งสะท้อนกลไกการเกิด psychotropic effect ของ THC ในขณะที่ CB2 receptors จะพบที่เนื้อเยื่อระบบภูมิคุ้มกันของระบบทางเดินอาหาร และในอวัยวะ ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน เช่น ม้ามและต่อมทอนซิล ดังนั้นจึงมีผลต่อ ความอยากอาหาร การย่อยอาหาร อารมณ์ ความรู้สึก ความจำ การเรียนรู้ และพฤติกรรม


และเมื่อสาร THC เข้าสู่ร่างกายของเราแล้ว จะถูกกำจัดที่บริเวณตับ โดย cytochrome P450 enzyme CYP2C และ CYP3A ซึ่งจะ metabolite เปลี่ยนเป็น 11-OH-THC (psychoactive) และ 11-COOH-THC (not-psychoactive) และถูกกำจัดออกนอกร่างกายผ่านในรูปของ feces และ urine
ข้อมูลจากกหลักฐานอ้างอิงทางวิชาการ พบว่ากัญชามีประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางการแพทย์ โดยถูกนำไปใช้เพื่อลดการเจ็บปวดเรื้อรังในผู้ใหญ่ การลดภาวะคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัด การรักษาโรคปลอกประสาทแข็ง รวมทั้ง สามารถนำไปใช้สำหรับโรคลมชักที่รักษาได้ยากในเด็ก เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีความเป็นไปได้ในการนำกัญชามาใช้ประโยชน์เพื่อควบคุมอาการของโรคต่าง ๆ เช่น โรคพาร์กินสัน มะเร็งระยะสุดท้าย โรคอัลไซเมอร์
ผลกระทบของ กัญชา ที่มีต่อร่างกาย
ผลกระต่อระบบทางเดินหายใจ
1. การสูบกัญชาต่อเนื่องมีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะถุงลมโป่งพอง
2. การสูบต่อเนื่องจะส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ
ผลกระทบต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด
1. มีความสัมพันธ์กับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
2. มีความสัมพันธ์กับภาวะเส้นเลือดสมองตีบ
3. สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจขาดเลือด
ผลกระทบต่อเชาว์ปัญญา
1. มีปัญหาในการเรียนรู้ สมาธิ และความจำ
2. หากใช้ปริมาณมากจะทำให้ความจำลดลง ทำให้สมองฝ่อ
3. เพิ่มความวิตกกังวล
ผลกระทบต่อความผิดปกติของจิต
1. อาจทำให้อารมณ์ครื้นเครงขึ้น แต่จะตามด้วยอาการง่วงซึม
2. ประสาทหลอนทางตา หวาดระแวง ( paranoid ) และเกิด panic attack
3. อาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการโรคจิตเภท โดยเฉพาะสําหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงเช่น ผู้ที่มีปัญหาโรคจิตในครอบครัวหรือพันธุกรรม ผู้ป่วยโรคจิตจากสารเสพติดและแอลกอฮอล์ เป็นต้น
ผลกระทบอื่นๆ
1. หากใช้ในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ ก็จะทำให้เสี่ยงต่อพัฒนาการของเด็กในครรภ์อาจพัฒนาได้ช้าลง
2. ทำให้การสร้างน้ำนมแม่ลดลง และสารกัญชาสามารถเข้าไปในน้ำนมได้ด้วย ดังนั้นจึงไม่ควรใช้กัญชาในคนท้อง และให้นมบุตร
3. การใช้ในเด็ก จะนำไปสู่การติดสารเสพติดชนิดอื่นมากขึ้นเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่

